เกี่ยวกับเรา

โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร เป็นโครงการที่สำคัญในประเทศไทยเพื่อการจัดการน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยโครงการนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบางไทร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่

Trees Planted

1000

since 2017

Countries

30

who contributed

Projects

303

under implementation

Money

7.9M

raised

ระบบคาดการณ์อุทกภัยด้วย Machine Learning ของพื้นที่โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทรเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงจากอุทกภัยด้วยการพัฒนาศักยภาพชุมชนรับมือภัยพิบัติ บริเวณพื้นที่รับน้ำจากโครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักหลายประการที่ครอบคลุมทั้งการจัดทำฐานข้อมูล การวิเคราะห์พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล–บางไทร และการพัฒนานวัตกรรมในการจัดการภัยพิบัติร่วมกับชุมชน การวิจัยมุ่งเน้นการประเมินความเสี่ยงและจัดการภัยพิบัติผ่านกระบวนการที่มีชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Disaster Risk Reduction: CBDRR) รวมถึงการศึกษาสภาพแวดล้อมทางธรณีวิทยาและอุทกวิทยาในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แพลตฟอร์มรายงานสถานการณ์น้ำและช่องทางการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมที่ใช้เทคโนโลยี Machine Learning ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการภัยพิบัติ

ส่วนที่หนึ่งเน้นการวิจัยมุ่งเน้นการจัดทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์พื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบในอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการตามแนวทางการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติ การเตือนภัย การวางแผนรับมือ และการฟื้นฟูหลังจากเกิดภัยพิบัติ การวิจัยยังพัฒนานวัตกรรมร่วมกับชุมชนในการบริหารจัดการอุทกภัยบริเวณชุมชนริมน้ำ รวมถึงการสร้างต้นแบบกระบวนการสร้างความต้านทานภัยพิบัติของชุมชนในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำล้นตลิ่ง

ส่วนที่สองเน้นการศึกษาสภาพแวดล้อมในด้านธรณีวิทยา อุทกวิทยา และอุทกธรณีวิทยาของศูนย์จัดการขยะต้นแบบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน การสร้างแบบจำลองการกระจายตัวของสารมลพิษ รวมถึงการวิเคราะห์และบูรณาการข้อมูลเพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ศูนย์จัดการขยะต้นแบบที่จะเปลี่ยนแปลงหลังจากการดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร การวิจัยนี้ยังครอบคลุมการประเมินพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากศูนย์จัดการขยะต้นแบบ และเสนอแนะแนวทางการจัดการศูนย์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ

ส่วนที่สามมุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มรายงานสถานการณ์น้ำในครัวเรือน และการพัฒนาช่องทางแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมโดยใช้เทคโนโลยี Machine Learning เพื่อคาดการณ์สถานการณ์น้ำที่สูงผิดปกติ โดยการวิจัยจะศึกษาข้อมูลจากเหตุการณ์ในอดีตและนำมาปรับใช้ในการพัฒนาช่องทางการเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ทีมวิจัยและพัฒนา

...
รศ.ดร.นิสา พักตร์วิไล
หัวหน้าทีมวิจัย

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

...
อ.นิธิพนธ์ น้อยเผ่า
ผู้ร่วมวิจัย

สาขาวิชาการจัดการสาธารณภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

...
อ.ชวลิต โควีระวงศ์
ผู้ร่วมวิจัย

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

...
อ.สมคิด ตันเก็ง
ผู้ร่วมวิจัย

สาขาการจัดการภัยพิบัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

...
อ.ศิรภัสสร พันธะสา
ผู้ร่วมวิจัย

สาขาการจัดการภัยพิบัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

...
อ.ดร.เดชพล จิตรวัฒน์ลศิริ
ผู้ร่วมวิจัย

ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กิจกรรมของเรา

กิจกรรมของเรา